วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ระบบกล้ามเนื้อ
          ร่างกายแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle or striated muscle)  กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle)  กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)  โดยกล้ามเนื้อลายนั้นถูกควบคุมอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจหรือรีเฟล็กซ์   ส่วนกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจทำงานนอกอำนาจจิตใจ

 
1. กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeleton muscle)
            เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะติดกับโครงกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกถูกควบคุมโดยระบบประสาทโซมาติก การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้ ร่างกายสามารถบังคับได้ซึ่งถือว่าอยู่ในอำนาจจิตใจ โดยกล้ามเนื้อลายมีหน้าที่เคลื่อนไหวร่างกายที่ข้อต่อต่างๆเคลื่อนไหวลูกตา ช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เคลื่อนไหวลิ้น เคลื่อนไหวใบหน้าแสดงอารมณ์ต่างๆและยังประกอบเป็นผนังอก และผนังท้องตลอดจนการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ



(ภาพกล้ามเนื้อลาย)
 

2. กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)
      กล้ามเนื้อหัวใจประกอบเป็นกล้ามเนื้อหัวใจเพียงแห่งเดียวอยู่นอกอำนาจจิตใจโดยควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ
 

 
 
(ภาพกล้ามเนื้อหัวใจ)
 

3. กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle)
         กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้ามเนื้อที่พบอยู่ตามอวัยวะภายในทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะย่อยอาหารและอวัยวะภายในต่างๆ เช่นผนังกระเพาะอาหาร ผนังลำไส้ ผนังหลอดเลือด และม่านตา เป็นต้น


 
(ภาพกล้ามเนื้อเรียบ)
 
 
คุณสมบัติของกล้ามเนื้อ

- มีความรู้สึกต่อสิ่งเร้า (Irritability เช่น กระแสประสาทที่กล้ามเนื้อเวลาที่จับโดนความร้อนหรือ กระแสไฟฟ้า เรามักมีการหนีหรือหลบเลี่ยง
-  มีความสามารถที่จะหดตัวได้ (Contractility) คือ กล้ามเนื้อสามารถเปลี่ยนรูปร่างให้สั้นหนา และแข็งได้
-  มีความสามารถที่จะหย่อนตัวหรือยืดตัวได้ (Extensibility) กล้ามเนื้อสามารถที่จะเปลี่ยนรูปร่างให้ยาวขึ้นกว่าความยาวปกติของมันได้ เมื่อถูกดึง เช่น กระเพาะอาหาร กระเพาะ ปัสสาวะ มดลูก เป็นต้น
- มีความยืดหยุ่นคล้ายยาง (Elasticity) คือ มีคุณสมบัติที่เตรียมพร้อมที่จะกลับคืนสู่สภาพ เดิมได้ ภายหลังการ ถูก ยืดออกแล้ว ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำให้เกิด Muscle Tone ขึ้น
- มีความสามารถที่จะดำรงคงที่อยู่ได้ (Tonus) โดยกล้ามเนื้อมีการหดตัวบ้างเล็กน้อย เพื่อเตรียมพร้อมที่
จะทำงานอยู่เสมอ


                                   
เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบที่อวัยวะต่าง ๆ
 

การทำงานของกล้ามเนื้อ
      
     - การทำงานของกล้ามเนื้อนั้นจะต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ได้แก่

 1. แคลเซียมไอออน หากขาดแล้วจะเกิดอาการชัก

 2. พลังงาน ได้จากกระบวนการสลายอาหารภายในเซลล์

 3. Myoglobin ทำหน้าที่นำออกซิเจนให้กล้ามเนื้อ


กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย


  
กล้ามเนื้อในร่างกายทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 792 มัด เป็นกล้ามเนื้อชนิดที่อยู่ในอำนาจจิตใจ 696 มัด ที่ เหลืออีก 96 มัด เป็นกล้ามเนื้อที่เราบังคับได้ไม่เต็มสมบูรณ์ ซึ่งได้แก่กล้ามเนื้อ ที่ทำหน้าที่ในการหายใจ (Respiration) จาม (Sneezing) ไอ (Coughing)


กล้ามเนื้อของแขน แบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้

1. กล้ามเนื้อของไหล่ ที่สำคัญได้แก่ กล้ามเนื้อ deltoid เนื้อใหญ่หนา มีรูป เป็นสามเหลี่ยมคลุมอยู่ที่ข้อไหล่ตั้งต้นจากปลายนอกของกระดูก ไหปลาร้า และกระดูกสะบัก แล้วไปยึดเกาะที่พื้นนอกตอนกลางของกระดูกแขนท่อนบน ทำหน้าที่ยกต้นแขนขึ้นมาข้างบนให้ได้ระดับกับไหล่เป็นมุมฉาก


 2. กล้ามเนื้อของต้นแขน ที่สำคัญได้แก่ - ไบเซฟส์แบรคิไอ (biceps brachii) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของ ต้นแขน มีรูปคล้ายกระสวย ทำหน้าที่งอข้อศอกและหงายมือ - ไตรเซฟส์แบรคิไอ (triceps brachii) เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่อยู่ด้าน หลังของต้นแขน ปลายบนแยกออกเป็น 3 หัว ช่วยทำหน้าที่เหยียดปลายแขนหรือข้อศอก

 3. กล้ามเนื้อของปลายแขน มีอยู่หลายมัด จำแนกออกเป็นด้านหน้า และ ด้านหลัง ในแต่ละด้านยังแยกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นตื้น และชั้นลึก ทำหน้าที่เหยียดข้อศอก เหยียดและงอมือ เหยียดนิ้วมือ กระดกข้อมือ งอข้อมือ พลิกแขนและคว่ำแขน ฯลฯ

4. กล้ามเนื้อของมือ เป็นกล้ามเนื้อสั้น ๆ ทำหน้าที่เคลื่อนไหวนิ้วมือ

กล้ามเนื้อของขา จำแนกออกเป็นส่วนๆดังนี้
 
1.  กล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่สุดของตะโพก ได้แก่ กลูเทียส แมกซิมัส (gluteus maximus) มีลักษณะหยาบและอยู่ตื้น ช่วยทำหน้าที่เหยียดและกางต้นขา นอกจากนี้ยังมีมัดเล็ก ๆ อยู่ใต้กล้ามเนื้อมัดใหญ่นี้ ช่วยกางและหมุนต้นขาเข้าข้างใน
 
 2. กล้ามเนื้อของต้นขา ประกอบด้วย - กล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นขา มีหน้าที่เหยียดปลายขา - กล้ามเนื้อด้านในของต้นขา มีหน้าที่หุบต้นขา - กล้ามเนื้อด้านหลังของต้นขา มีหน้าที่งอปลายขา

3.  กล้ามเนื้อของปลายขา ประกอบด้วย - กล้ามเนื้อด้านหลังของปลายขา ทำหน้าที่งอเท้าขึ้นเหยียด นิ้วเท้าและหันเท้าออกข้างนอก - กล้ามเนื้อด้านนอกของปลายขา ช่วยทำหน้าที่เหยียดปลายเท้า เหมือนกล้ามเนื้อด้านหลังของปลายขา
 
4.   กล้ามเนื้อของเท้า เป็นกล้ามเนื้อสั้น ๆ เหมือนกับของมือ อยู่ที่หลังเท้า และฝ่าเท้า มีหน้าที่ช่วยยึดเท้าให้เป็นส่วนโค้งและเคลื่อนไหวนิ้วเท้า
 
เมื่อสมองสั่งให้ร่างกายให้เคลื่อนไหว กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัวและคลายตัว ทำงานประสานเป็นคู่ ๆพร้อมกัน แต่ตรงข้ามกัน ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ เรียกว่า Antagonistic muscle
- มัดกล้ามเนื้อไบเซพ (Biceps) อยู่ด้านบน และไตรเซพ (Triceps) อยู่ด้านล่างของแขน
- ไบเซพหรือ (Flexors)คลายตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) หดตัว แขนเหยียดออก
- ไบเซพหรือ (Flexors)หดตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) คลายตัว แขนงอเข้า
 
 

แสดงการทำงานของกล้ามเนื้อไบเซพ (
Bicep) หรือ (Flexors)
และกล้ามเนื้อไตรเซพ (tricep) หรือ (Extensors)

การรักษาให้ระบบกล้ามเนื้อแข็งแรง

1.ออกกำลังกาย (Exercise)    การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobics Exercise) จะช่วยทำให้หัวใจและปอดแข็งแรงขึ้น ส่วนการออกกำลังกายที่ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีขนาดใหญ่ขึ้นนั้นเรียกว่า การออกกำลังกายแบบ แอนแอโรบิค (Anaerobic Exercise)
2.โภชนาการที่เหมาะสม (Proper Nutrition)การรับประทานผัก ธัญพืช และผลไม้ รวมถึงการดื่มน้ำมากๆ ลดความเครียด จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้

กลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อลาย

เส้นเยื่อไมโอไฟบริล ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการหดตัวของกล้ามเนื้อลาย ประกอบด้วยเส้นที่ประกอบด้วยโปรตีน (
Protein filament)  2  ชนิด  คือ

1.เส้นหนาประกอบด้วยโปรตีนหรือที่เรียกว่าเส้นใยไมโอซิน
(
Myosin filament)

2.เส้นบางประกอบด้วยโปรตีนหรือที่เรียบว่าเส้นใยแอ็คทิน
(
Actin filament)
เส้นใยทั้ง  2  เส้น  ซึ่งมีจำนวนมากมายนี้จะรวมตัวกันเป็นหน่วยเรียกว่า ซาร์โคเมีย (Sarcomere) และเส้นใย  ทั้ง 2 เส้น ซึ่งมีจำนวนมากมายในแต่ละซาร์โคเมีย
จะทำให้กล้ามเนื้อลายมีลักษณะเป็นลายมืดและลายสว่างสลับกันไป

กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย

กล้ามเนื้อใบหน้า
กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ตื้น คือ อยู่ใต้ผิวหนัง (Subcutaneous tissue) ด้านหนึ่งเกาะกับกระดูกหน้า อีกด้านหนึ่งติดกับผิวหนังของใบหน้าทำหน้าที่แสดงความรู้สึกบนใบหน้าในลักษณะต่าง ๆ เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ และแสดงอาการทางสีหน้า เช่น ยิ้ม หัวเราะร้องไห้ เป็นกล้ามเนื้อที่เน้นบุคลิกภาพของแต่ละคนได้เป็นอย่างดี 

กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยว (Muscle of mastication)

มี 4 มัด คือ Temporalis muscle อยู่ที่ขมับด้านข้างของกะโหลกศีรษะ แผ่เป็นรัศมีเต็มขมับทำหน้าที่อ้า หุบและยื่นปาก เวลาเคี้ยวอาหารMasseter muscle อยู่ด้านนอกมุมขากรรไกรล่างของใบหน้ารูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำหน้าที่ยกกระดูกขากรรไกรล่างขึ้นเวลาเคี้ยวอาหาร Pterygoid muscle เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกยื่นจากส่วนมาตรฐานของกะโหลกศีรษะไปยังบริเวณขากรรไกรล่าง มี 2 คู่ คือ External และ Internal pterygoid muscle ช่วยในการอ้าปาก หุบปาก เคลื่อนกรามไปทางด้านข้าง



กล้ามเนื้อคอ (Muscle of the neck)
 
กล้ามเนื้อคอ (Muscle of the neck) ที่สำคัญในการเคลื่อนไหวของคอ มีอยู่ 3 มัด 



กล้ามเนื้อส่วนลำตัว (Muscle of the trunk)

กล้ามเนื้อส่วนลำตัว (Muscle of the trunk) แบ่งเป็นกล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้าและด้านหลัง ดังนี้

1.
 
กล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้ากล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้าที่เห็นเด่นชัดและมัดใหญ่ มีดังนี้

2. กล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหลังในส่วนลำตัวด้านหลัง มีกล้ามเนื้อที่สำคัญดังนี้
 

 
กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่และแขน (Muscle of the upper limb)

กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่และแขน (
Muscle of the upper limb) ที่ช่วยในการทำงานของหัวไหล่และแขน
ที่สำคัญ คือ

1.   กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่
2.  กล้ามเนื้อแขนส่วนต้น
3.  กล้ามเนื้อส่วนปลายแขน
4.  กล้ามเนื้อส่วนมือและนิ้ว
เพิ่มคำอธิบายภาพ

 
กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและขา (Muscle of the lower limb)

กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและขา (
Muscle of the lower limb)
1.กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและก้นกบ
2.กล้ามเนื้อส่วนโคนขา
3.กล้ามเนื้อส่วนปลายขา
4.กล้ามเนื้อส่วนเท้า


วีดีโอสำหรับการเรียนรู้





แหล่งที่มา

         https://www.youtube.com/watch?v=BNe2rHuVLE8&feature=youtu.be




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น