การไหลเวียนเลือดเกิดขึ้นได้จากแรงที่หัวใจบีบตัวส่งเลือด
ตามหลอดเลือดไปยังปอด เพื่อการแลกเปลี่ยนออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์
แล้วกลับมาเข้าหัวใจเพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
สุดท้ายจะไหลเวียนมาเข้าหัวใจอีก เช่นนี้เรื่อยไป
หัวใจ
ทำหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ
ของร่างกาย โดยทำให้เกิดความดันเลือดในหลอดเลือดแดง เพื่อให้เลือดเคลื่อนที่ไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ
ของร่างกายได้ทั่วถึง
วงจรการไหลเวียนเลือด
วงจรการไหลเวียนเลือด เริ่มจาก
ห้องขวาบน
ทำหน้าที่รับเลือดที่มีออกซิเจนน้อยจากเส้นเลือด Superior
venacava (มาจากส่วนบนของร่างกาย) และ Inferior venacava (มาจากส่วนล่างของร่างกาย) แล้วส่งต่อไปยัง หัวใจห้องขวาล่างหรือ Right
Ventricle ผ่านลิ้นหัวใจ Tricuspid valve ซึ่งห้องนี้จะส่งเลือดที่มี
poor oxygen ยังปอดโดยการใช้เส้นเลือด Pulmonary
Artery โดยผ่านลิ้นพัลโมนารีอาร์เตอรี
(ลิ้นกั้นระหว่างหลอดเลือดพัลโมนารีอาร์เตอรีกับเวนตริเคิลขวา) หลังจากนั้น Left
Atrium หรือ
หัวใจห้องซ้ายบนที่เราเห็นจะรับเลือดที่มีออกซิเจนมาจากปอดผ่านทางเส้นเลือด Pulmonary
Vein แล้วส่งต่อไปยัง left Ventricle คือหัวใจห้องซ้ายล่าง
ผ่านลิ้นหัวใจชื่อ Bicuspid valve หรือ Mitral valve ที่จะสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย โดยต่อกับ Aorta (หลอดเลือดที่ใหญ่ที่สุด)
หลอดเลือด
หลอดเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย
และเป็นเส้นทางให้เลือดจากอวัยวะต่างๆทั่วร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ
หลอดเลือดในร่างกายมี 3
ชนิด
1. หลอดเลือดแดง
(artery) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดดีจากหัวใจไปสู่เซลล์ต่างๆ
ของร่างกายหลอดเลือดแดงมี
ผนังหนาแข็งแรง และไม่มีลิ้นกั้นภายใน
เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดแดงเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนสูง
หรือเรียกว่า “ เลือดแดง
”ยกเว้นหลอดเลือดแดงที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังปอดภายในเป็นเลือดที่มีปริมาณ
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากหรือเรียกว่า “ เลือดดำ
”
2. หลอดเลือดดำ
(vein) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดดำจากส่วนต่างๆ
ของร่างกายเข้าสู่หัวใจหลอดเลือดดมีผนังบางกว่า
หลอดเลือดแดง
มีลิ้นกั้นภายในเพื่อป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ
เลือดที่ไหลอยู่ภายในหลอดเลือดจะเป็นเลือดที่มีปริมาณ
แก๊สออกซิเจนต่ำ
ยกเว้นหลอดเลือดดำที่นำเลือดจากปอดเข้าสู่หัวใจ จะเป็นเลือดแดง
3. หลอดเลือดฝอย
(capillary) เป็นหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่าวหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำสานเป็นร่างแห
แทรกอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย
มีขนาดเล็กและละเอียดเป็นฝอยและมีผนังบางมากเป็นแหล่งที่มีการแลกเปลี่ยน
แก๊สและสารต่างๆ ระหว่างเลือดกับเซลล์
วิดีโอประกอบการเรียนรู้
วิดีโอประกอบการเรียนรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น